ไก่และเป็ด

การเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์ เป็นการเลี้ยงแนวเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยลดต้นทุนและให้คุณภาพของไข่ไก่สูงไก่ไข่มีอายุที่ยืนยาวกว่าการเลี้ยงในกรงตับ อีกทั้งราคาของไข่ไก่อินทรีย์มีราคาที่น่าสนใจมากกว่า ปัจจุบันไข่ไก่อินทรีย์ ราคา 4 บาท/ฟอง ในขณะที่ไข่ไก่ปรกติ ราคาฟองล่ะ 3 บาทเท่านั้น การเลี้ยงไก่ไข่ประหยัดแบบอินทรีย์ ผสมผสานกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะคล้ายกับเลี้ยงไก่ไข่แบบธรรมชาติ ไม่ได้ขังในกรง จะปล่อยให้ออกหากินตามสวน หรือพื้นที่ที่จัดเตรียมให้ การเลี้ยงแบบนี้ จะช่วยให้ไก่ไข่อารมณ์ดี ไม่เครียด ใช้ชีวิตเหมือนธรรมชาติ

การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ จะช่วยให้ประหยัดต้นทุน ทั้งเรื่องโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยง รวมทั้งอาหารสำหรับไก่ไข่สาว เป็นแนวทางของการ เลี้ยงไก่ไข่ให้ได้กําไร สูงสุด บวกกับแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถมีรายได้จากการปลูกพืชผักและสวนได้อีกด้วย

เล้าไก่หรือคอกไก่ไข่อินทรีย์นี้จะไม่ต้องลงทุนสูง ต่างกับการเลี้ยงแบบโรงเรือน จะมีแค่เพียงคอนและบ้านหรือเล้ากันแดด กันฝนสำหรับไก่ให้นอนพักผ่อนในตอนกลางคืน รอบๆสถานที่เลี้ยงจะมีเพียงรั้ว สำหรับป้องกันศัตรูที่จะมาทำร้ายไก่ไข่ อย่างที่เกริ่นในตอนแรก หากเราเลี้ยงไก่ไข่ในสวนหลังบ้าน โดยปลูกพืชผักสวนครัว หรือหน่อไม้ ให้คุ้ยเขี่ยหากินเอง ทั้งนี้มูลไก่ไข่จะมีประโยชน์กับพืชที่ปลูกในสวน เป็นปุ๋ยชั้นดี ช่วยให้มีรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายได้ เป็นรายได้เสริมที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย แถมบางครั้งพืชผลหรือผลไม้ที่ร่วงลงมาก็เป็นอาหารเสริมสำหรับไก่ไข่อีกค่ะ ข้อได้เปรียบของการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ที่มากกว่าการเลี้ยงในกรงตับ คือ ไก่ไข่อินทรีย์จะมีอายุการให้ไข่ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่การเลี้ยงไก่ไข่แบบกรงตับมีอายุของการให้ไข่ ไม่เกิน 1.5 ปี

อาหารไก่ไข่ลดต้นทุน

ปัญหาของเกษตกรที่เลี้ยงไก่ไข่ที่พบเจอบ่อย และหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านของอาหารไก่ไข่ที่มีราคาสูง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ที่เกิดขึ้นรายวัน นับเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะได้กำไรมาก น้อย หรือขาดทุน เนื่องจากอาหารเป็นส่วนจำเป็นอย่างยิ่งของไก่ไข่ที่ต้องนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและนำไปผลิตไก่ไข่คุณภาพ หากเราสามารถที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้ จะช่วยให้ผู้เลี้ยงมีกำไรจากการเลี้ยงไก่ไข่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งง่ายต่อการจัดหาอีกด้วย เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถหาได้ในท้องถิ่นเรา สูตรอาหารไก่ไข่ลดต้นทุน ที่ขอแนะนำ เป็นสูตรอาหารของคุณบุญล้อม เต้าแก้ว นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ไก่ไข่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ลดกลิ่นเหม็นของมูลไก่ ไข่ไก่สีสวย ไข่แดงสดใส

วัตถุดิบ
– หยวกกล้วยหั่นละเอียด 20 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
– เกลือเม็ด 1/2 กิโลกรัม

ขั้นตอน
– ใส่ส่วนประกอบทั้ง 3 ลงไปในถังหมัก แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
– ปิดฝาถังหมัก เก็บไว้ที่ร่มประมาณ 7 วัน

อัตราส่วน
– ใช้ผสมกับหัวอาหาร โดยมีอัตราส่วนดังนี้ สูตรอาหารไก่ไข่ลดต้นทุน 1 กก. ต่อ หัวอาหารไก่ไข่ 10 กก. ต่อไก่ 30 ตัว ต่อวัน (นำไปให้ไก่ไข่กินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น)

หรือใช้สูตรอาหารหมัก โดยใช้ส่วนประกอบดังนี้
– หยวกกล้วยหั่นและทุบให้นิ่ม 30 กก.
– ข้าวลีบ 10 กก.
– รำละเอียด 10 กก.
– ปลายข้าว 1.5 กก.
– น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
– เกลือ 200 กรัม
– ขี้วัวแห้งบดละเอียด 4 กก.
– ดินแดงร่วน 2 กก.

วิธีทำ
– เติมส่วนประกอบทั้งหมดลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
– เตรียมน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วเติมน้ำหมักจุลินทรีย์ 40 ซีซี และกากน้ำตาล 40 ซีซี
– ค่อยๆเทน้ำลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากันจนจับกันเป็นก้อน
– ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม ทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นสามารถนำไปให้ไก่ไข่กินได้ เช้า และเย็น ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารมากกว่าอาหารสำเร็จรูป 3 เท่า

การขยายพันธุ์ไก่ไข่

ในระหว่างการเลี้ยงแบบอินทรีย์นี้ อัตราส่วนที่เหมาะสม ปล่อยไก่ตัวผู้ 1 ตัว ต่อไก่ไข่ตัวเมีย 5 ตัว ทั้งนี้เพื่อการเพาะพันธุ์ลูกไก่ไข่ โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อไก่ไข่สาวมาเลี้ยง ที่ราคาค่อนข้างแพง การขยายพันธุ์เองนี้ นอกจากจะประหยัดค่าไก่ไข่แล้วยัง สามารถให้เรารู้ถึงรุ่นไก่ไข่ในแต่ละรุ่น

สมุนไพรไก่ไข่ ป้องกันและรักษาโรค

ฟ้าทะลาย สมุนไพร ที่เหมาะสำหรับป้องกันและรักษาโรคต่างๆของไก่ไข่ โดยส่วนใหญ่แล้วโรคที่เกิดขึ้นกับไก่ จะมีอยู่ 2 ช่วงคือ
ปลายฝนต้นหนาว
• สับฟ้าทะลายโจรให้ละเอียด แล้วตากให้แห้ง นำไปบด สามารถผสมกับอาหารไก่ให้กิน
• หรือสามารถนำฟ้าทะลายโจรสดๆ ให้ไก่กินได้เลย
ช่วงใกล้เข้าฤดูร้อน
• ช่วงนี้โรคไข้หวัดนกมักระบาด ให้นำฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ต้นโทงเทง และหนุมานประสานกาย อย่างล่ะ 1 กก. สับพอประมาณ เทใส่ถังหมัก
• ใช้น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กก. น้ำเปล่า 5 ลิตร เทลงไปในถังหมักด้วย หมักไว้ 10-15 วัน
• สามารถนำมาผสมกับน้ำให้ไก่กินได้, หรือถ้าไก่ไข่ป่วยหรือซึม หน้าซีด ไม่ต้องผสม ให้กินได้เลย

แผนการเลี้ยงไก่ไข่แบบประหยัด พอเพียง แนวอินทรีย์

หากเราจะเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์อย่างจริงจัง ให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแล้วล่ะก็ ควรจะมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงหรือก่อนเลี้ยงไก่ไข่ โดยเริ่มต้นเลี้ยงที่จำนวนน้อยๆสัก 10-20 ตัว แล้วค่อยเพิ่มจำนวน เราจะได้ใกล้ชิด และสังเกตุพฤกติกรรมของไก่ไข่ รวมถึงอาหารการกิน และโรคที่เกิดขึ้นกับไก่ไข่ ในระหว่างการฝึกหัดเลี้ยงนั้น ควรจัดสถานที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ไว้เอง (เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง โดยไก่ไข่ 1 ตัว / ตารางเมตร) เช่น กล้วย ข้าว ผักสวนครัวจำพวกกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า ข่า ตะไคร้ พริก มะละกอ ตำลึง กระถิน สำหรับเป็นอาหารหลัก อาหารเสริมของไก่ไข่ ส่วนฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ต้นโทงเทง หนุมานประสานกาย เป็นสมุนไพรสำหรับไก่ไข่ ให้ไก่ทนทานต่อโรคและรักษาโรคต่างๆ จัดสัดส่วนของพื้นที่ให้เหมาะสม และที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำเพิ่มคือ การปลูกกล้วยน้ำว้า และหน่อไม้ เพื่อจัดเป็นแหล่งคุ้ยเขี่ยหากินแมลงและปลวกของไก่ไข่ ตามธรรมชาติ การเลี้ยงแบบนี้จะช่วยให้ไก่ไข่อารมณ์ดี สุขภาพแข็งแรง อายุยืน และจะช่วยให้เรามีรายได่ต่อที่สอง คือสามารถนำกล้วย และหน่อไม้ไปขายได้อีกทางหนึ่ง

หมายเหตุ
เราสามารถหาซื้อไก่ไข่ที่ปลดระวางจากฟาร์มที่เลี้ยงแบบกรงตับแล้ว มาเลี้ยงปล่อยแบบอินทรีย์ได้ ในราคาถูก ไม่เกิน 80 บาท แต่แนะนำให้แยกเลี้ยงจากฝูงเดิมที่เรามี เพื่อให้ไก่ได้คุ้นเคยกับสถานที่และป้องกันโรคติดต่อจากฟาร์ม รอให้ไก่ไข่ปรับตัวได้ปรกติ จึงค่อยนำมารวมกับฝูง อาจใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

องค์ประกอบสำหรับการลงทุนเลี้ยงไก่ไข่
ขนาดและลักษณะโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่: สำหรับไก่ไข่ที่มีอายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้เลี้ยง 5-6 ตัว ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ดังนั้นที่จำนวนไก่ไข่สาว 500 ตัว จะต้องใช้โรงเรือนขนาด 6×14 = 84 ตร.ม. (โรงเรือนสูงตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป เพื่อความโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก) หลังคาสำหรับกันแดดและฝนที่ทำมาจาก กระเบื้อง สังกะสี หรือใบจาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และอุปกรณ์ที่หาได้สะดวกในท้องถิ่นนั้นๆ ราคาประมาณ 35,000 บาท
ค่าอุปกรณ์เลี้ยงไก่: รวมทั้ง กรงตับ 2 ชั้น รางน้ำ รางอาหาร คิดเฉลี่ย 65 บาทต่อตัว ดังนั้น = 500 x 65 = 32,500 บาท
ราคาไก่ไข่พันธุ์สาว: ไก่ไข่สาว 16 สัปดาห์ ปัจจุบันราคาตัวละ 185 บาท คิดที่ 500 ตัว ประมาณ 92,500 บาท
ค่าอาหารไก่ไข่: ไก่สาวที่มีอายุ 16 สัปดาห์ ต้องการอาหารประมาณ 120 กรัมต่อตัวต่อวัน ดังนั้น 1 วันจะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับอาหาร = 120g x 500 ตัว = 60,000 กรัม หรือ 60 กิโลกรัมๆละ 15 บาท ดังนั้นจะต้องจ่ายเงินค่าอาหาร = 60 กก. x 15 บาท = 900 บาท ต่อ 1 วัน
ไก่ไข่เลี้ยงกี่เดือน: ไก่ไข่สาวนี้ต้องเลี้ยงต่อไปอีก 2 สัปดาห์ถึงจะพร้อมออกไข่ ดังนั้น 14 วัน x 900 บาท = 12,600 บาท
**ต้นทุนในการเลี้ยงไก่ไข่ และรายจ่ายทั้งหมด รวม 35,000+32,500+92,500+12,600 = 172,600 บาท**

รายได้และกำไรจากการเลี้ยงไก่ไข่
ไก่ไข่ ไข่วันละกี่ฟอง: เมื่อไก่เริ่มไข่ก็จะทำให้เริ่มมีรายได้จากการขายไข่ไก่ 85% ของแม่ไก่ทั้งหมด ดังนั้นคิดจำนวนแม่ไก่ที่สามารถออกไข่ได้ = 500 x 0.85 = 425 ตัว ซึ่งไก่ไข่สามารถออกไข่วันละ 1 ฟอง แล้วขายราคาฟองล่ะ 3 บาท ดังนั้นคิดรายได้จากการขายไข่ = 425ตัว x 3 บาท = 1,275 บาท/วัน
หากหักรายจ่ายค่าอาหารออก 1,275 – 900 = 375 บาท/วัน, ดังนั้นกำไรต่อเดือน = 11,250 บาท ก็ถือว่าพอใช้ได้สำหรับเป็นอาชีพเสริมค่ะ ถ้าประสบผลสำเร็จแบบนี้แล้ว แนวคิดทำโรงเรือนขนาดเดียวกันเพิ่มอีกสัก 1 โรงเรือน รวมทั้งหมด 1,000 ตัว ดังนั้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน = 22,500 บาท พอเห็นมองเห็นตัวเลขคร่าวๆแล้วนะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ และตั้งใจดูแล เลี้ยงไก่ไข่ให้สมบูรณ์ เพื่อการออกไข่เป็นประจำ สม่ำเสมอ อีกทั้งมองหาหนทางลดต้นทุน ทางด้านอาหาร เนื่องจากจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นรายวัน ก็จะช่วยส่งเสริมให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นค่ะสำหรับไก่ไข่ปลดระวาง จะเป็นไก่ไข่ที่ให้ไข่ติดต่อกันประมาณ 1 ปี (12 เดือน) ปรกติจะออกไข่ประมาณ 280 ฟอง/ปี สามารถสังเกตได้ง่ายคือจะให้ไข่น้อยกว่า 60% ของรุ่นหรือล็อตเดียวกัน สามารถมีรายได้จากการส่งขายเป็นไก่เนื้อได้ ดังนั้นควรหาไก่ไข่สาวมาทดแทนเพื่อผลผลิตที่ต่อเนื่องต่อไป ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ยังคงสามารถใช้งานได้ต่อไปเหมือนเดิม ไม่ต้องซื้อใหม่ และเช่นกันในส่วนของไก่ไข่สาวนี้ หากสามารถเพาะพันธุ์เองได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงไปได้อีกเยอะ

ถ้าพูดถึงวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ในครัวหรือตู้เย็น สิ่งนั้นที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “ไข่ไก่”
ส่วนแหล่งที่มาของใข่ไก่นั้นก็มีทั้งแบบเลี้ยงเองตามธรรมชาติ กินเปลือกข้าว รำข้าว แมลง ตามท้องนา และอีกแบบที่นิยมเลี้ยงกันก็คือแบบโรงเรือน

เกษตรอีสานวันนี้ ก็อยากนำเสนอการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือน สำหรับเป็นข้อมูลของเกษตกรอีสานบ้านเรา รวมถึงพี่น้องทางภาคอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นเลี้ยงในครัวเรือนหรือผู้ที่คิดจะเลี้ยงเป็นอาชีพ ก่อนอื่นสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือ

พันธุ์ไก่ใข่
โดยจะแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ

ไก่พันธุ์แท้
เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้
ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร
ไก่พันธุ์ผสม
ฟังดูอาจจะดูเป็นไก่ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่็นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีดฮ
อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น

อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่
อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
มาที่ส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหารและการให้อาหารของไก่ไข่ ผลผลิตที่ออกมานั้นจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ในส่วนของอาหารและวิธีการให้อาหารจึงสำคัญมาก
เพราะเป็นตัวชี้วัดผลกำไรและขาดทุนได้เลยทีเดียว

อาหารของไก่ไข่
ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้ โดยทางทีมงานอีสานร้อยแปด จะแบ่งให้ทุกคนดูง่ายๆ เป็น สารอาหาร 6 ประเภทใหญ่ๆ

โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมีโปรตีนประมาณ 13-19%
คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรจะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ 38-61%
น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท
แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่
อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที
หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร
อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน
ต่อมาเป็นที่อยู่อาศัยของไก่ไข่ ซึ่งในเนื้อหานี้จะเป็นการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ในโรงเรือน ซึ่งจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ โรงเรือนจะต้องสร้างให้ถูกต้อง มีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่
ป้องกันแดด ลม และฝนได้
แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
ทำความสะอาดได้ง่าย
ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
แบบโรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่
ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัสดุ ความยากง่ายในการสร้าง รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดังนี้

แบบเพิงหมาแหงน
แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมีข้อเสียคือฝนอาจจะสาดเข้าทางด้านหน้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงน้อย
แบบหน้าจั่วชั้นเดียว
ข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถป้องกันแดด ลม ฝนได้ดีกว่า แต่จะมีค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าก่อสร้างมากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะรูปแบบมีความซับซ้อนมากกว่า
แบบหน้าจั่วสองชั้น
แบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วชั้นที่ 2 เพิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบนี้จะระบายความร้อนได้ดีและเย็นกว่าแบบหน้าจั่วชั้นเดียว แต่ก็จะมีค่าก่อสร้างแพงกว่าหน้าจั่วชั้นเดียว
แบบหน้าจั่วกลาย
คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ดีกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่าเพิงหมาแหงน
แบบเพิงหมาแหงนกลาย
แบบนี้จะมีกว่าเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว เพราะมีการระบายอากาศ และกันฝน กันแดดได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบหน้าจั่วหลาย

เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารได้ ประชาชนนิยมบริโภคไข่เป็ด นอกจากนี้ไข่เป็ดสามารถนำไปประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การทำไข่เค็ม เป็นต้น

ปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้

1. พันธุ์เป็ดไข่ พันธุ์เป็ดไข่ที่กรมปศุสัตว์แนะนำ คือ เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีและเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ
1.1 ลักษณะของเป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรี
เพศเมีย มีสีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว แข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำเริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว ไข่มีขนาด 65 กรัม กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด
เพศผู้ ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม แข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ

1.2 ลักษณะของเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ
มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ขนสีดำตลอดลำตัว บางตัวหน้าอกด่าง เพศผู้มีลักษณะพิเศษ ที่ขน หัว คอ และปลายปีก จะมีสีเขียวเข้ม ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีปากและขนสีดำเริ่มไข่เมื่ออายุ 145-183 วัน น้ำหนักตัว เมื่อเริ่มไข่ 1450-1550 กรัม/ตัว สามารถไข่ได้ปีละ 270-300 ฟอง น้ำหนักไข่เฉลี่ย 62 กรัม กินอาหารวันละ 135 กรัม และสามารถไข่ได้ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะไข่มากที่สุด เลี้ยงง่ายเลี้ยงได้ทุกสภาพพื้นที่ทั้งที่เป็นพื้นที่ลุ่มหรือดอน ต้านทานโรคระบาดไม่ฟักไข่เอง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 0-2 สัปดาห์
การเลี้ยงเป็ดจะสำเร็จหรือไม่นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ดระยะ 2 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้น ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์ม ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอ สมบูรณ์มีภูมิคุ้มกันโรคระบาดและไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงในระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา โดยปกติแล้วลูกเป็ดอายุ 0-2 สัปดาห์ มีความต้องการอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือการเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง การกกลูกเป็ด การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
1.1 การเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดไข่เข้ามาเลี้ยง มีดังนี้
1.1.1 ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก หรือห้องสำหรับกกลูกเป็ดจะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ากกลูกเป็ดบนพื้นคอกจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกๆ ครั้งที่นำลูกเป็ดเข้าคอก
1.1.2 การสั่งจองลูกเป็ด ก่อนที่จะเลี้ยงเป็ด ควรจะได้มีการวางแผนว่าควรจะเลี้ยงในช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสม และเมื่อตัดสินใจแล้วควรจะสั่งจองลูกเป็ดไว้ล่วงหน้า และควรสั่งซื้อสั่งจองจากโรงฟักลูกเป็ดที่มีชื่อเสียงที่ผลิตลูกเป็ดที่มีคุณภาพ และต้องส่งลูกเป็ดในถึงฟาร์มได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หากโรงฟักอยู่ไกลเกิน การขนส่งลูกเป็ดเกิน 24 ชั่วโมง จะทำให้ลูกเป็ดสูญเสียน้ำโดยระเหยออกจากตัว ทำให้ลูกเป็ดน้ำหนักลด มีผลต่อความแข็งแรงในระยะเวลาต่อมา
1.1.3 การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำใต้ดิน น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้น หรือน้ำฝน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปา เพราะว่าลูกเป็ดจะตายหรืออ่อนแอมากเมื่อได้กินน้ำที่มีสารเคมี ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็อาจทำได้โดยเปิดน้ำเก็บไว้ในถึงเป็นเวลานานข้ามคืน
1.1.4 โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่ลูกเป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นกต่างๆ
1.1.5 การระบายอากาศ โรงเรือนควรมีช่องระบายอากาศที่ดี ส่วนใหญ่แล้วโรงกกลูกเป็ดมักมีฝา ประตูและหน้าต่าง ค่อนข้างจะมิดชิด เพื่อเก็บความอบอุ่นและป้องกันลมแรง การมีช่องระบายอากาศจึงมีความสำคัญฟาร์มจะต้องตระเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะนำลูกเป็ดเข้าฟาร์ม
1.2 การกกลูกเป็ดอายุ 1-2 สัปดาห์
เป็นการทำให้ลูกเป็ดอบอุ่น อาจจะกกบนพื้นดินที่โรยด้วยขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด หนาประมาณ 1-2 นิ้ว หรืออาจเป็นพื้นดินที่มีดินทรายรองพื้นก็ได้ การกกควรแบ่งลูกเป็ดออกเป็นคอกๆ ละ 150-200 ตัว โดยใช้แผงไม้ขัดแตะหรือแผงกระดาษ หรือพลาสติกสูงประมาณ 1 นิ้ว กั้นระหว่างคอก เพื่อป้องกันลูกเป็ดนอนสุมกันในเวลากลางคืน ขนาดของคอกขึ้นกับอายุลูกเป็ด โดยเป็ดอายุ 0-1 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 30 ตัว ถ้าอายุ 1-2 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 23 ตัว และอายุ 2-3 สัปดาห์ ใช้อัตราส่วน 15 ตัว/พื้นที่ 1 ตารางเมตรแหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ 2 หลอด/ลูกเป็ด 200 ตัว หรืออาจใช้โคมไฟสังกะสีที่มีหลอดไฟใต้โคมแขวนสูงจากพื้น 1.5-2 ฟุต อาจกกลูกเป็ดในตะกร้าไม้ไผ่หรือกล่องกระดาษ หรือสุ่มไก่โดยมีหลักว่าใช้ผ้าหรือกระสอบคลุมเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกเป็ด หรืออาจกกบนตาข่ายยกสูงจากพื้น 10-15 ซ.ม. ลวดข่ายหรือตาข่ายพลาสติก หรือไม้ไผ่ขัดแตะปูไปบนไม้หนา 2×4 นิ้ว ซึ่งวางเรียงกันบนพื้นซีเมนต์ที่ลาดเอียง ลูกเป็ดจะปล่อยเลี้ยงบนพื้นลวดตาข่ายและมีรางน้ำ รางอาหาร และไฟกกอยู่พร้อมลูกเป็ดถ่ายมูลออกมาและน้ำที่หกก็ตกลงบนพื้นซีเมนต์ เราสามารถล้างคอกได้ทุกวัน วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาความเปียกชื้นของพื้นคอก และนิยมมากในปัจจุบัน ใช้เวลากกลูกเป็ด 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ในฤดูร้อนอาจจะกกเพียง 9-10 วันก็พอ แต่ฤดูหนาวอาจจะกก 10-21 วัน แล้วปล่อยออกไปเลี้ยงในบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่น หรือถ้าหากไมมีบ่อน้ำก็สามารถเลี้ยงลูกเป็ดปล่อยในแปลงหญ้า หรือรอบๆ โรงเลี้ยงเป็ดที่มีชายคาหรือร่มไม้ มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา ถ้าอากาศร้อนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟกกลูกเป็ด

1.3 การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
ในระยะ 2 วันแรก ควรให้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาดๆ ใส่ในภาชนะแบนราบ เช่น ถาดสังกะสีหรือไม่ก็โรยบนกล่องกระดาษที่แกะเป็นแผ่นเรียบๆ บนพื้น อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะ 0-3 สัปดาห์ มีโปรตีน 17-18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,890 กิโลแคลอรี่ มีน้ำสะอาดวางให้กินห่างจากไฟกกประมาณ 30-50 ซ.ม. การให้อาหารและน้ำหลังจาก 2 วันแรกให้วางอาหารค่อยๆ ห่างจากไฟกก 1.5-2 เมตร และขยับให้ห่างออกเรื่อยๆ สุดท้ายให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การให้น้ำใส่ในขวดพลาสติกสำหรับให้น้ำเป็ดให้วางอยู่ใกล้อาหาร ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมีคลอรีน ถังน้ำ ขวดน้ำ รางน้ำ ควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง
2. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 3-8 สัปดาห์
ลูกเป็ดอายุครบ 2 สัปดาห์ ความต้องการทางด้านกกเพื่อให้ความอบอุ่นจะลดลงหรือไม่ต้องการเลย เพราะลูกเป็ดมีขนขึ้นเต็มตัว และกินอาหารได้ดีจนสามารถสร้างความอบอุ่นขึ้นได้เองอย่างเพียงพอ ลูกเป็ดอายุ 3-8 สัปดาห์จะมีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้น จึงควรเอาใจใส่ด้านอาหาร การให้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่ถูกต้อง จำนวนอาหารที่ให้เป็ดกินและการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
2.1 การจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม อาจเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนมีหลังคาและกั้นห้องให้อยู่รวมกันเป็นห้องๆ หรืออาจจะเลี้ยงปล่อยทุ่งไล่ต้อนกลับคอกในเวลาเย็นๆ หรืออาจจะเลี้ยงในโรงเลี้ยงเป็ดที่มีลานดินยื่นออกมานอกโรงเรือนให้ลูกเป็ดเล่นและพักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนในขังไว้ในโรงเรือน ข้อสำคัญคือ อย่าขังเป็ดรวมกันให้แน่นเกินไป เพราะเป็ดจะจิกกัน โดยเฉพาะถ้าให้อาหารไม่เพียงพอ หรืออาหารมีส่วนประกอบไม่ได้สัดส่วน ลูกเป็ดจะยิ่งจิกขนและกินขนกันมากขึ้น ข้อแนะนำคือ ให้ลูกเป็ดอยู่ระหว่าง 5-6 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีน้ำสะอาดให้กินเพียงพอ
2.2 การให้อาหาร ระยะนี้ลูกเป็ดมีการเจริญเติบโตสูง อาหารที่ใช้จึงควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง โดยปกติแล้วจะให้อาหารลูกเป็ดวันละ 2 ครั้ง คือเช้า 7-8 โมง และบ่าย 2-3 โมง อาหารที่ให้เป็นอาหารชนิดผงคลุกน้ำให้ชื้นพอหมาดๆ ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็ดกินได้ง่าย และไม่ตกหล่นมาก อาหารที่คลุกน้ำแล้วจะถูกเทใส่ในรางไม้หรือถังใส่อาหารสัตว์ชนิดแขวน ขนาดบรรจุ 4-5 ก.ก. หรือกองอาหารที่ผสมเสร็จแล้วลงบนกระสอบหรือภาชนะแบนราบวางอยู่กลางคอก และไกลจากน้ำดื่ม 5-6 เมตร

3. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 9-20 สัปดาห์
เมื่อลูกเป็ดระยะเจริญเติบโตที่เลี้ยงไว้เป็นฝูงๆ นั้น อายุได้ 8 สัปดาห์ ต้องทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์เป็ด ตัวละ 2 ซี.ซี. สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงเป็ดไข่แบบกรงตับขังเดี่ยว ก็ให้แยกเป็ดขึ้นกรงตับได้เมื่อเริ่มสัปดาห์ 8 กรงตับมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับกรงสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ที่มีจำหน่ายทั่วไป แต่กรงเป็ดมีขนาดกว้างกว่า คือ ขนาด 30x30x30 ซ.ม. การเลี้ยงเป็ดอายุ 9-16 สัปดาห์นี้ จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหาร เพื่อประหยัดต้นทุน และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป เพราะถ้าอ้วนเป็ดจะไข่น้อย แนวทางปฏิบัติการเลี้ยงเป็ดอายุ 9-20 สัปดาห์ การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำและเติมน้ำสะอาดก่อนให้อาหาร เพราะอาหารตกค้างทำให้น้ำเสียได้ง่าย ถ้ามีตะไคร่น้ำหรือคราบอาหารติดอยู่ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย รางอาหาร ควรใช้แปรงถูรางอาหารให้สะอาดก่อนให้อาหาร เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงอาจติดตามรางอาหารเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือเชื้อราได้ง่าย การให้อาหาร ถ้าเป็นอาหารผสมต้องคลุกน้ำพอหมาดๆ ให้อาหารกระจายอย่างสม่ำเสมอตลอดราง หลังให้อาหารเป็ดแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง ควรใช้แปรงถูขอบรางอาหารเพื่อให้อาหารที่เกาะติดอยู่ร่วงหล่น พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่าๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูง เมื่อเป็ดอายุได้ 17 สัปดาห์ขึ้นไป ให้เป็ดได้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะให้ไข่ได้เมื่ออายุ 21 สัปดาห์

4. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 21 สัปดาห์ขึ้นไป
เมื่อเป็ดอายุได้ 21สัปดาห์ก็จะเริ่มไข่ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารสำหรับเป็ดไข่ที่มีคุณค่าทางโภชนะค่อนข้างสูง ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเป็ดเริ่มไข่จะกินอาหารวันละประมาณ 100 กรัม/ตัว/วัน ก็เพียงพอสำหรับการผลิตไข่ในช่วงแรก น้ำหนักไข่ประมาณ 45 กรัม นอกจากนี้ขนาดไข่เพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่ให้และตามอายุของเป็ด เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของไข่ก็ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ปริมาณอาหารที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 140-160 กรัม/ตัว/วัน ถ้าหากให้อาหารไม่เต็มที่ขนาดของไข่ก็จะเล็กลงเช่นกัน ทั้งนี้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาว่าอาหารที่ใช้เลี้ยงมากน้อยเพียงใด ถ้าอาหารหมดเร็วก็ให้เพิ่มขึ้น ถ้าอาหารเหลือก็ลดปริมาณลง สำหรับการจัดการเรื่องรางน้ำ รางอาหาร การทำความสะอาดโรงเรือนและการทำความสะอาดกรงเป็ด ก็ดำเนินการเช่นเดียวกับเป็ดรุ่น แต่ในช่วงเป็ดกำลังให้ไข่ควรพิถีพิถันมากกว่าเป็ดรุ่น เพราะถ้าเป็ดเกิดตกใจ หรือได้รับความเครียดจากสภาพทั่วไป จะทำให้ผลผลิตน้อยลง ซึ่งในช่วงนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้
4.1 การทำความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ต่างๆ ควรระมัดระวังให้เป็ดตกใจน้อยที่สุด และควรทำให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้เป็ดเกิดความเคยชิน
4.2 การเปลี่ยนสูตรอาหารในแต่ละครั้ง ควรค่อยๆ เปลี่ยน หากเปลี่ยนโดยทันทีอาจทำให้เป็ดท้องเสีย ผลผลิตลดลงได้
4.3 การจับเป็ดในเวลาทำวัคซีน ต้องพยายามจับให้นิ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.4 อย่าให้หนู แมว หมา มาป้วนเปี้ยนบริเวณกรงตับ หรือโรงเรือนที่เลี้ยง
4.5 ในเวลากลางคืน ควรมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดคืน
5. อาหารเป็ด
5.1 อาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตามรางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
5.2 เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ด เป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผู้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะได้อาหารที่มีโภชนาการต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้เพราะอาหารผสมมีราคาถูก

4. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 21 สัปดาห์ขึ้นไป
เมื่อเป็ดอายุได้ 21สัปดาห์ก็จะเริ่มไข่ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารสำหรับเป็ดไข่ที่มีคุณค่าทางโภชนะค่อนข้างสูง ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเป็ดเริ่มไข่จะกินอาหารวันละประมาณ 100 กรัม/ตัว/วัน ก็เพียงพอสำหรับการผลิตไข่ในช่วงแรก น้ำหนักไข่ประมาณ 45 กรัม นอกจากนี้ขนาดไข่เพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่ให้และตามอายุของเป็ด เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของไข่ก็ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ปริมาณอาหารที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 140-160 กรัม/ตัว/วัน ถ้าหากให้อาหารไม่เต็มที่ขนาดของไข่ก็จะเล็กลงเช่นกัน ทั้งนี้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาว่าอาหารที่ใช้เลี้ยงมากน้อยเพียงใด ถ้าอาหารหมดเร็วก็ให้เพิ่มขึ้น ถ้าอาหารเหลือก็ลดปริมาณลง สำหรับการจัดการเรื่องรางน้ำ รางอาหาร การทำความสะอาดโรงเรือนและการทำความสะอาดกรงเป็ด ก็ดำเนินการเช่นเดียวกับเป็ดรุ่น แต่ในช่วงเป็ดกำลังให้ไข่ควรพิถีพิถันมากกว่าเป็ดรุ่น เพราะถ้าเป็ดเกิดตกใจ หรือได้รับความเครียดจากสภาพทั่วไป จะทำให้ผลผลิตน้อยลง ซึ่งในช่วงนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้
4.1 การทำความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ต่างๆ ควรระมัดระวังให้เป็ดตกใจน้อยที่สุด และควรทำให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้เป็ดเกิดความเคยชิน
4.2 การเปลี่ยนสูตรอาหารในแต่ละครั้ง ควรค่อยๆ เปลี่ยน หากเปลี่ยนโดยทันทีอาจทำให้เป็ดท้องเสีย ผลผลิตลดลงได้
4.3 การจับเป็ดในเวลาทำวัคซีน ต้องพยายามจับให้นิ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.4 อย่าให้หนู แมว หมา มาป้วนเปี้ยนบริเวณกรงตับ หรือโรงเรือนที่เลี้ยง
4.5 ในเวลากลางคืน ควรมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดคืน
5. อาหารเป็ด
5.1 อาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตามรางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
5.2 เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ด เป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผู้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะได้อาหารที่มีโภชนาการต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้เพราะอาหารผสมมีราคาถูก

ไก่งวง (Turkey) เป็นไก่ที่ชาวต่างชาวนิยมรับประทาน โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างมากในวันเทศกาลต่างๆ เช่น วันคริสต์มาส และวันที่เรียกว่า Thanksgiving Day ซึ่งเป็นวันที่ชาวอเมริกันทำการรำลึกถึงคุณของพระเจ้า โดยวันนี้จะตรงกับวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในวันนี้มักมีไก่งวงจำหน่ายไม่เพียงพอกับความต้องการ

อนุกรมวิธาน
• Class : Aves
• Order : Galliformes
• Family : Meleagrididae
• Genus : Meleagris
• Species : gallopavo

ประวัติไก่งวง
ไก่งวงดั้งเดิมเป็นไก่ป่า ที่พบ 2 ชนิด คือ Meleagris gallopavo พบบริเวณตอนเหนือ และตอนกลางของทวีปอเมริกา และ Agriocharis ocellata พบบริเวณประเทศเม็กซิโก และอเมริกากลางตอนเหนือ

ลักษณะของไกงวงป่า ตัวผู้จะมีน้ำหนัก 50-60 ปอนด์ บริเวณคอ และหัวมีลาย คอมีเหนียง มีต่างหูสีสดใสห้อยลงมาตั้งแต่จงอยปาก และห้อยลงมาทางด้านข้าง ต่างหูนี้สามารถหดหรือขยายตัวได้ ตัวผู้มีกระจุกขนสีดำแข็งบริเวณตรงหน้าอก ขนลำตัวสามารถพองออกได้เหมือนกับนกยูง ขนเป็นมันเงา บริเวณแข้งมีเดือย

มีการค้นพบซากกระดูกของไก่งวงป่าบริเวณในมลรัฐเทนเนสซี่ของสหรัฐ ซากมีอายุประมาณ 1000 ปี ก่อนคริสกาล

ไก่งวงสีบรอนซ์ถูกนำเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกในยุโรปภายหลังจากที่สเปนได้ยึดครองประเทศเม็กซิโก ค.ศ. 1519 จนเป็นที่รู้จักของคนในยุโรป หลังจากนั้น ไก่งวงสีบรอนซ์ก็ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในทวีปอเมริกาอีกครั้ง โดยผู้อพยพชาวอเมริกันชุดแรกผ่านทางรัฐด้านตะวันออกของทวีปอเมริกา

การพัฒนาไก่งวงสีบรอนซ์
ในปี ค.ศ. 1927 ชาวแคนาดาชื่อ Jesse Throsel จังหวัด British Columbia ได้พัฒนาไก่งวงสีบรอนซ์ที่นำมาจากประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1920 ให้มีสัดส่วนเนื้อที่กินได้มากขึ้น จนได้พันธุ์ที่เรียกว่า Broad Breasted Brown (B.B.B) ที่มีสีเอกลักษณ์ คือ สีบรอนซ์ออกน้ำเงิน ซึ่งจัดเป็นไก่งวงพันธุ์ใหญ่

ในปี ค.ศ. 1935 สหรัฐอเมริการได้นำเข้าไก่งวงพันธุ์ B.B.B มาเลี้ยง จนถึงปี ค.ศ. 1939 ได้มีการเลี้ยงมากเกือบทุกมลรัฐ และมีการพัฒนาพันธุ์มาเรื่อยจนได้พันธุ์ Broad Breasted Large White (B.B.L.W) และพันธุ์ Beltsville Small White White (B.S.W) ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในสหรัฐ และสมาคมสัตว์ปีกแห่งสหรัฐอเมริกาได้กำหนดลักษณะมาตรฐานของไก่งวงไว้ 7 ชนิด ได้แก่ บรอนซ์ (Bronze), ไวท์ฮอล์แลนด์ (White Halland), บอร์บอนเรด (Broubon Red), นาราแกนแซท (Naragansett), ดำ (Black), สาเลท (Slate) และเบลท์สวิลล์ (ฺBeltsville) (เทอดศักดิ์ และคณะ, 2530)(1)

พันธุ์ไก่งวงที่นิยมเลี้ยง
การเลี้ยงไก่งวงในประเทศไทยยังถือว่าไม่ค่อยนิยม เนื่องจาก คนไทยไม่นิยมรับประทานเนื้อไก่งวง สำหรับไก่งวงที่เลี้ยงในปัจจุบัน เป็นพันธุ์ที่พัฒนามาจากไก่งวงป่าชนิด Meleagris gallopavo

พันธุ์ไก่งวงที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ นอร์ฟอล์กแบล็ค แมมโมท, อเมริกันบรอนซ์, เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์, บริทิชไวท์ และไก่งวงพันธุ์ผสม

ไก่งวงอเมริกันบรอนซ์ (American Bronze)
ไก่งวงพันธุ์นี้จัดเป็นไก่งวงสายพันธุ์ใหญ่ มีขนสีบรอนซ์ปนน้ำตาลดำ ปลายขนสีขาวเล็กน้อย แข้ง และนิ้วเท้าสีเทาอ่อนปนชมพูซีด ตามีสีน้ำตาล จงอยปากมีสีเทาอ่อน มีความสามารถอาศัยหากินตามธรรมชาติได้ดี มีอาหารตามธรรมชาติ เช่น เศษอาหาร แมลง สัตว์ในดิน และหญ้า ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 70 ฟอง/ตัว/ปี เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 9 กิโลกรัม โดยตัวผู้หนุ่มให้น้ำหนักประมาณ 9 กิโลกรัม ตัวเมียสาวประมาณ 7 กิโลกรัม

ไก่งวงเบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsville small White)
เป็นพันธุ์ไก่งวงขนาดเล็กถึงปานกลาง หนัง และขนมีสีขาว แข้ง และนิ้วเท้ามีสีชมพูซีด ตามีสีน้ำตาล จงอยปากมีสีเทาอ่อน หน้าอกมีขนาดใหญ่ ไก่งวงพันธุ์นี้มีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก และให้รสชาตที่อร่อย เป็นพันธุ์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติได้ดี ปริมาณไข่ 80 ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักที่เติบโตเต็มที่ของตัวผู้ประมาณ 7.7 กิโลกรัม ตัวเมีย 5 กิโลกรัม โดยตัวผู้วัยหนุ่มมีน้ำหนักประมาณ 6.7 กิโลกรัม ตัวเมียวัยสาวประมาณ 4 กิโลกรัม

การเลี้ยงไก่งวง
1. การเลี้ยงตามธรรมชาติ
เป็นรูปแบบการเลี้ยงไก่งวงด้วยการปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือการปล่อยเลี้ยงตามทุ่ง แต่จะให้อาหารเสริมบ้างในบางครั้ง เช่น รำข้าว ข้าวโพด ปลาขนาดเล็ก หรืออาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารหรือเศษอาหารจากครัวเรือน โดยอาจมีการผสมกับพืชผักที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ผักบุ้ง หยวกกล้วย ซึ่งในบางท้องที่มักเลี้ยงไก่งวงร่วมด้วยกับการเลี้ยงไก่ประเภทอื่น

ตัวอย่างอาหารทีี่เกษตรกรเสริมให้แก่ไก่งวง ได้แก่ การใช้หญ้า ผักบุ่ง และหยวกกล้วย อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับมันสำปะหลัง 1 ส่วน รำ 4 ส่วน และปลาป่นหรือปลาขนาดเล็ก 1 ส่วน นอกจากนั้น อาจใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน เหงือกปลาหมอ เป็นต้น

2. การเลี้ยงในโรงเรือน
การเลี้ยงไก่ในโรงเรือน เป็นรูปแบบการเลี้ยงด้วยการจำกัดบริเวณภายในโรงเรือน โดยเกษตรกรต้องคอยอาหารให้แก่ไก่งวงเป็นประจำ โดยมีอัตราการปล่อยเลี้ยงที่ 1 ตัว/ตารางเมตร พื้นโรงเรือนให้รองด้วยวัสดุ เช่น แกลบ ฟางสับหรือขี้เลื่อย ปูหนา 2-3 นิ้ว และจัดหารางน้ำประจำในแต่ละจุด

การอนุบาลลูกไก่งวง
ลูกไก่งวงจะฟักออกจากไข่หลังใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน เมื่อลูกไก่งวงฟักแล้ว 1-2 วัน ให้นำลูกไก่แยกออกจากแม่ไก่ใส่ในคอกอนุบาลที่มีหลอดไฟ รางอาหาร และรางน้ำเตรียมไว้ ทั้งนี้ ให้จัดหาวัสดุสำหรับคลุมคอก และเปิดไฟทิ้งไว้ในเวลากลางคืน โดยอาหารในระยะนี้จะให้อาหารสำเร็จรูปเป็นหลัก แต่หากเกษตรกรมีทุนไม่สูงก็จะให้รำผสมกับพืชผักสับ และปลาสับ และเมื่อเลี้ยงไปแล้ว 15-20 วัน ก็สามารถนำออกปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติหรือปล่อยเลี้ยงในโรงเรือนได้

อาหารใช้เลี้ยงไก่งวง
อาหารใช้เลี้ยงไก่งวงในโรงเรือนจะเหมือนกับอาหารเสริมที่ให้แก่ไก่งวงที่เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ได้แก่ การผสมพืชผักตามธรรมชาติกับรำข้าว และปลาป่น นอกจากนั้น อาจใช้อาหารเลี้ยงไก่สำเร็จรูปก็ได้

สูตรอาหารไก่งวงระยะเล็ก
– ปลายข้าว 30 กิโลกรัม
– รำละเอียด 10 กิโลกรัม
– รำหยาบ 3 กิโลกรัม
– กากถั่วเหลือง 50 กิโลกรัม
– ปลาป่น 4 กิโลกรัม
– พืชผักสับ 3 กิโลกรัม
– เปลือกหอย 1 กิโลกรัม
– เกลือแกง 0.5 กิโลกรัม
– แร่ธาตุ และวิตามิน 0.5 กิโลกรัม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *